เมืองเชียงใหม่นับได้ว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาอย่างยาวนานทั้งในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งต้องบอกเลยว่าสถานที่ท่องเที่ยวสวยๆในเชียงใหม่นั้นมีมากมายเสียเหลือเกิน
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร” หรือที่หลายๆคนเรียกกันแบบสันๆว่า “วัดพระธาตุดอยสุเทพ”วัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ชาวพุทธทั้งหลาย
วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ ใกล้กับตัวเมืองเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวที่มาเชียงใหม่ครั้งแรกมักจะมาเที่ยวชม และไหว้พระเพื่อเป็นสิริมงคล ภายในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น อายุมากกว่า 500 ปี
ทางขึ้นไปยังวัดต้องเดินผ่านบันไดนาคกว่า 300 ขึ้น หรือจะขึ้นไปโดยรถรางไฟฟ้าก็ได้ เมื่อขึ้นไปถึงวัดแล้วจะต้องถอดรองเท้าไว้ ด้านในของวัดมีเจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางเดินได้โดยรอบ นักท่องเที่ยวมักจะไหว้พระและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้งพร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8
ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุมแล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหินแล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น
ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6
วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง
เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไปโดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร
นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดนาคไป 300 ขั้น เพื่อไปยังวัด สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เดินขึ้นลงบันไดไม่สะดวก
สามารถใช้บริการรถรางไฟฟ้าขึ้น-ลงดอยสุเทพได้ ระหว่างเวลา 05.30-19.30 น.โดยเสียค่าบำรุงรถรางไฟฟ้าคนละ 20 บาท